วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทฤษฎีสี

ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี
สีต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจรสีหากเรานำมาเรียงน้ำหนักความอ่อนแก่ของสีหลายสี เช่น ม่วง น้ำเงิน เขียวแกมน้ำเงิน เขียว และเหลืองแกมเขียว หรือ ม่วง แดง แดงส้ม ส้ม ส้มแกม เหลือง และเหลือง
หรือเรียกว่า ค่าในน้ำหนักของสีหลายสี (Value of different color) ดังตัวอย่าง




สำหรับค่าความเข้มอีกประเภทหนึ่งเกิดจากการนำสีใดสี หนึ่งเพียงสีเดียว แล้วนำมาไล่น้ำหนัก อ่อนแก่ในตัวเอง เราเรียกว่าค่าน้ำหนักสีเดียว (Value of single color) ซึ่งถ้าผู้เรียนฝึกฝน ได้เป็นอย่างดี
แล้ว สามารถนำความรู้จากการ ไล่ค่าน้ำหนักนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มาก ในการสร้าง งานจิตรกรรม ดังตัวอย่าง


นักเรียนหรือผู้ที่ศึกษาทางศิลปะบางคนชอบที่จะให้สี หลายๆสี โดยเข้าใจว่าจะทำให้ภาพสวย แต่ที่จริงแล้วเป็นความคิดที่ผิด กลับทำให้ภาพเขียน ที่ออกมาดูไม่สวยงาม เพราะการที่จะให้สีหลายสี ให้ดูกลมกลืนกันนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หากเราได้มีโอกาสได้สังเกตภาพเขียน ที่สวยๆของศิลปิน หลายๆท่านจะพบว่า ผู้สร้างสรรค์ไม่ได้ใช้สีที่มากมายเลย ใช้อย่างมากสองถึงสี่สีเท่านั้น แต่เราดูเหมือนว่า ภาพนั้นมีหลากหลายสี ีทั้งนี้ก็เพราะว่าเขารู้จักใช้ค่าน้ำหนักสีๆเดียว โดยการนำเอาสีอื่นเข้ามาผสมผสาน บ้างเท่านั้น

สีตัดกัน

สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเอง การที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกัน อย่างแท้จริงหรือไม่ ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดูถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้น หมายถึงว่าสีคู่นั้น เป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริง ตัวอย่างสีคู่ตัดกันมีดังนี้ี้

สีดังตัวอย่างนั้นเป็นคู่สีที่ตัดกันซึ่งการใช้สีตัด กันในการสร้างงานศิลปะนั้นต้องมีหลักเกณฑ์พอสมควร หากใช้อย่างไม่รู้หลักการแล้วจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานออกมาไม่น่ามอง ขัดต่อหลักการทางศิลปะ อีกด้วยการสร้างงานศิลปะที่มีแต่สีกลมกลืนโดยไม่นำสีที่ตัดกันไปใช้บางครั้ง ทำให้ภาพดูน่าเบื่อ หากนำสีตัดกันไปใช้จะทำให้ภาพ ดูมีชีวิตชีวา ดังนั้นหากจะนำสีตัดกัน มาใช้ในงานศิลปะ ควรต้องศึกษา หลักการต่อไปนี้

เมื่อ เราระบายสีในภาพโดยใช้โทนสีที่กลมกลืนกัน 5 - 6 สี ถ้าต้องการให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จำเป็นต้องใส่สีคู่ที่ 5 หรือ 6 ลงไป ให้เลือกเอาสีใดสีหนึ่ง อาจเป็นหนึ่งหรือสองสี ที่เกิดการตัดกัน กับวรรณะของสีโดยรวมของภาพนั้น ซึ่งไม่เจาะจงให้ตัดกับสีใดสีหนึ่ง

โดยเฉพาะวิธีการใช้สีตรงข้าม หรือสีตัดกันมีหลักการดังนี้
1. ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน 10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน
2. ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณ์ดังนี้
  • การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ
  • หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
  • หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่างสดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง
  • หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆและสีคู่นั้นติดกัน ควรใช้เส้นดำมาคั่นหรือ ตัดเส้นด้วยสีดำเพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้ดังตัวอย่าง

- ตัวอย่างภาพสีตัดกัน -ตัวอย่างภาพการลดความรุนแรงของสีตัดกันด้วยสีดำ

อย่างไรก็ตามหลักการใช้สีตัดกันในงานศิลปะที่กล่าวมานั้นอาจเป็นหลัการกว้างๆ เท่านั้น
เพราะเมื่อเรา สร้างสรรค์ งานศิลปะจริงๆ จะเคร่งคัดตามเกณฑ์ทุกประการไปคงไม่ได้
ผู้สร้างสรรค์ควรต้องมีการฝึกฝน และพลิกแพลงวิธีการใช้งานด้วยตนเอง

ที่มา: http://www.dekthaischool.com